ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

28 เมษายน 66 : เปิดนโยบายพรรคการเมือง พรรคไหนให้สิทธิแรงงานอย่างไรบ้าง , Thairath Plus

เปิดนโยบายพรรคการเมือง พรรคไหนให้สิทธิแรงงานอย่างไรบ้าง
 

วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันแรงงาน ปีนี้ 2566 มีการเลือกตั้งใหญ่ ไทยรัฐพลัส จึงเปิดนโยบาย พรรคก้าวไกล, พรรคเพื่อไทย, พรรครวมไทยสร้างชาติ, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคภูมิใจไทย และพรรคพลังประชารัฐ ที่ยื่นต่อ กกต.มีเนื้อหากับสิทธิแรงงานอย่างไร
วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีคือวันแรงงาน แต่ปี 2566 นี้แตกต่างออกไป เป็นปีที่มีการเลือกตั้งใหญ่ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของคนไทยทุกคน เพราะหน้าตาของรัฐบาลที่มีส่วนสำคัญต่ออัตราค่าแรง ค่าครองชีพต่างๆ 

 

ไทยรัฐพลัส ชวนชาวแรงงานทุกคนมาดูนโยบายของแต่ละพรรคที่เกี่ยวกับสิทธิแรงงาน ก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้ง 14 พฤษภาคมนี้ ว่าแต่ละพรรคคิดยังไง ต้องการแก้ไขเพิ่มสิทธิ หรือแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเข้าคูหาครั้งนี้


สำหรับข้อมูลนโยบายที่ได้หยิบยกใส่มาในบทความชิ้นนี้อ้างอิงมาจากเว็บไซต์ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เปิดเผยนโยบายหาเสียงของทุกพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง


ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 57 กำหนดให้พรรคการเมืองที่โฆษณานโยบายที่ต้องใช้จ่ายเงิน ชี้แจงข้อมูลต่อวงเงินที่ต้องใช้ และที่มาของเงินที่จะใช้ในการดำเนินการ, ความคุ้มค่าและประโยชน์ในการดำเนินนโยบาย และผลกระทบและความเสี่ยงในการดำเนินนโยบาย ต่อ กกต. 

สามารถดูนโยบายของทุกพรรคการเมืองที่ส่งให้กกต. ได้ที่ https://www.ect.go.th/ect_th/news_page.php?nid=20499

 

พรรคก้าวไกล
 

1.รัฐต้องจ้างงานคนพิการ 20,000 คน


2.สิทธิลาคลอด 180 วัน พ่อและแม่ 


3.ห้องปั๊มนมในที่ทำงาน


4.ปรับค่าแรงขึ้นทุกปี เริ่มทันทีวันละ 450 บาท 


5.ทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากเกินต้องได้โอที 


6.แรงงานทุกกลุ่มตั้งสหภาพได้สอดคล้องหลักองค์การแรงงานระหว่างประเทศ


7.ประกันสังคมถ้วนหน้าเจ็บป่วยได้เงินชดเชยและค่าเดินทางหาหมอ 


8.แพลตฟอร์มเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนฟรีไม่จำกัด มีระบบจัดหางาน 


9.คูปองเสริมทักษะและเปลี่ยนอาชีพ 5,000 บาทต่อปี 


สำหรับ พรรคก้าวไกล นโยบายได้แบ่งไว้หลายหมวด ซึ่งข้อ 1-3 อยู่ในหมวด สร้างสังคมเท่าเทียม แต่เนื่องจาก 1 นโยบายมีความเกี่ยวพันกันในหลายมิติและทั้ง 3 ข้อนี้ก็จัดว่าเกี่ยวข้องกับแรงงานเช่นเดียวกัน


ทั้งนี้ข้อ 4-9 เป็นนโยบาย สวัสดิการทำงาน โดยพรรคก้าวไกลได้ระบุวงเงินที่จะใช้ไว้ 56,000,000,000 บาท ซึ่งเป็นเงินรัฐที่จะต้องสมทบให้กับประกันสังคมถ้วนหน้าและคูปองเสริมทักษะ (ตัวเลข ณ ปี 2567) 


พรรคก้าวไกล ยังเขียนว่า ที่มาของงบประมาณในการทำเรื่องสวัสดิการทำงาน มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บรายได้ภาครัฐรูปแบบใหม่และปรับปรุงภาษี ซึ่งจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 650,000 ล้านบาทต่อปี 


โดยงบประมาณที่รัฐจะช่วยสมทบเงินประกันสังคมแบ่งเบาภาระ SME จากผลของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 16,000 ล้านบาท จะใช้เพียงปีแรกเท่านั้น ดังนั้นงบประมาณจริงๆ ที่ใช้ต่อปีประมาณ 40,000 ล้านบาท 


พรรคเพื่อไทย
 


1.ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท สำหรับในเรื่องของค่าแรงขั้นต่ำ พรรคเพื่อไทย ระบุว่า ไม่ใช้วงเงินงบประมาณ แต่จะสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตสูงในระดับที่เพียงพอทำให้นายจ้างสามารถจ่ายค่าจ้างที่สูงได้


2.จบปริญญาตรี 25,000 บาท ส่วนนโยบายคนจบปริญญาตรี การดำเนินการจะมาจากการบริหารงบประมาณรัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขนาดของรัฐราชการ แต่เพิ่มผลิตภาพ สร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง


3.สนับสนุนและให้สิทธิประโยชน์การจ้างงานของผู้สูงอายุ วงเงินที่ต้องใช้ดำเนินการ คือ 500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนและใช้สิทธิประโยชน์การจ้างงานผู้สูงอายุ ยืดอยู่การเกษียณ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพยังสามารถอยู่ในตลาดแรงงานได้ 


พรรครวมไทยสร้างชาติ
 

1.เพิ่มเงินสมทบภาครัฐให้แรงงานในระบบประกันสังคมมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท วงเงินที่ต้องใช้ 29,000 ล้านบาทต่อปี เป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้แรงงานในระบบประกันสังคม ซึ่งงบในส่วนนี้ก็เป็นงบประมาณประจำปี 


2.ช่วยเหลือเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นการปรับเพิ่มเงินช่วยเหลือเลี้ยงดูบุตรแรกเกิดถึงอายุ 10 ปี แรงงานในระบบประกันสังคมจะได้รับเงิน 1,000 บาทต่อเดือน วงเงินงบประมาณในโครงการนี้ 4,000 ล้านบาท อยู่ในส่วนของกองทุนประกันสังคมไม่มีผลกระทบต่องบประมาณประจำปี หรือเงินกองทุนประกันสังคม


3.พัฒนาระบบจ้างงานรายชั่วโมง และระบบประกันสังคมถ้วนหน้าทุกอาชีพ โดยจัดทำระบบการจ้างงานรายชั่วโมงในระบบประกันสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานของคนรุ่นใหม่ และขยายระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมทุกอาชีพ 


4.ใช้มาตรการภาษีที่ใช้ให้ภาคเอกชนจ้างพนักงานผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น 


5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 40 โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับในช่วงวัย 


พรรคประชาธิปัตย์
 

1.ยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองแรงงาน ดังนี้ 


ปรับอัตราค่าจ้างให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ
ยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองเด็กและสตรีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์สากล
กำหนดสิทธิลาคลอดแก่แม่ ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และให้พ่อลาหยุดเพื่อร่วมดูแลลูกเป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยได้รับเงินชดเชยค่าจ้างจากความร่วมมือระหว่างนายจ้างและสำนักงานประกันสังคม
ยกระดับการดำเนินงานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจากเลิกกิจการให้ได้รับเงินชดเชย 
ส่งเสริมให้มีศูนย์เด็กเล็กคุณภาพในสถานประกอบการ 
ส่งเสริมการรวมตัวของลูกจ้าง เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์และสวัสดิการตัวเอง


2.ขยายสิทธิและสวัสดิการของแรงงานนอกระบบ ด้วยการยกระดับสิทธิและสวัสดิการในประกันสังคม มาตรา 40 


3.จัดให้มีระบบประกันสังคมถ้วนหน้า 


4.ส่งเสริมให้มีการจ้างงานรายชั่วโมงในภาคธุรกิจบริการ เพื่อเปิดโอกาสในการหารายได้


5.ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุและผู้พิการ 


6.ปฏิรูประบบประกันสังคม 


สำหรับ พรรคประชาธิปัตย์ ในส่วนของนโยบายแรงงาน ไม่มีการระบุรายละเอียดงบประมาณและผลการวิเคราะห์นโยบายที่ใช้ในการประกาศโฆษณาไว้ แต่มีการชี้แจงในหมวดอื่น 


ในส่วนของพรรคภูมิใจไทยและพรรคพลังประชารัฐยังไม่ชัดเจนในเรื่องสิทธิของแรงงาน จึงไม่ได้หยิบยกขึ้นมากล่าวถึง



28/Apr/2023

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา